นอนหลับสนิท ชีวิตยืนยาว เพราะการนอนพักผ่อนสำคัญกว่าที่คิดนอนพักผ่อนไม่เพียงพอเสี่ยงอายุสั้น และเสี่ยงโรคร้ายมากมาย เพื่อให้ทุกคนมีการนอนหลับพักผ่อนที่ดียิ่งขึ้น เราจึงขอเชิญชวนให้ทุกท่านมาร่วมบอกลาภัยร้ายและโรคสุดอันตรายที่มากับการนอนน้อยไปกับเราผ่านบทความที่น่าสนใจบทความนี้!
โดยเราจะมาพาทุกคนไปเริ่มต้นการสร้างสุขภาวะทางการนอนที่ดี เพื่อนอนหลับพักผ่อนอย่างมีคุณภาพ และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย สู่การเป็นผู้ที่มี อายุยืนยาว ไปพร้อมๆ กัน
เช็กให้ดี คุณนอนหลับอย่างเต็มอิ่มแล้วหรือยัง?หากมีอาการเหล่านี้ ปรับพฤติกรรมด่วน เพราะคุณเข้าข่ายที่จะอยู่ในช่วงของการนอนพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ!
ไม่ว่าจะเป็นการนอนน้อยเกินไป นอนนานเกินไป นอนดึกบ่อย ๆ นอนผิดเวลา หรือการนอนไม่หลับล้วนเป็นการนอนที่ไม่มีคุณภาพ และส่งผลกระทบต่อร่างกาย การทำงานของสมอง และระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายของเราด้วยกันทั้งสิ้น ก่อนที่จะไปรู้ถึงวิธีการนอนหลับให้ดีและมีคุณภาพเพื่อเสริมสร้างอายุที่ยืนยาว เราจึงอยากให้ทุกคนมาลองเช็กตัวเองให้ดี และสังเกตตัวเองอยู่เสมอ เพราะหากคุณกำลังมีอาการเหล่านี้ อาจแสดงว่าคุณกำลังนอนหลับแบบผิด ๆ อยู่ก็เป็นได้
ซึ่งอาการที่แสดงถึงการนอนหลับที่ไม่มีคุณภาพนั้น ได้แก่
- เหนื่อยล้า ง่วงซึม มีอาการหาวในระหว่างวัน
- รู้สึกอ่อนเพลียตลอดทั้งวัน
- ตื่นมาแล้วรู้สึกไม่สดชื่น ไม่สดใส ไม่อยากลุกไปไหน
- อารมณ์แปรปรวน และอารมณ์เสียได้ง่าย
- ไม่สามารถรับผิดชอบงานที่เคยทำได้ดีเท่าที่ควร
- เมื่อได้มีเวลางีบหรือนอนในระหว่างวันจะสามารถนอนหลับได้ทันที
- มีการวูบหลับ หรือเผลอหลับโดยไม่รู้ตัวในระยะเวลาสั้นๆ
- ไม่สามารถควบคุมความคิด หรือจัดระเบียบความคิดของตัวเองได้เท่าเดิม
- คิดช้า ตัดสินใจได้ช้า และทำสิ่งต่าง ๆ ได้ช้าลง
สารพัดโรคร้ายที่รุมเร้า จากการนอนหลับพักผ่อนแบบผิดๆ หากตอนนี้เรายังนอนหลับแบบไม่มีคุณภาพ แล้วไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองให้เหมาะสม ก็อาจเป็นจุดเริ่มต้นของโรคร้ายต่าง ๆ ที่ส่งผลร้ายต่อร่างกายของเราได้ ซึ่งตัวอย่างของโรคที่เป็นผลมาจากการนอนหลับที่ไม่มีคุณภาพ การนอนน้อย หรือพักผ่อนไม่เพียงพอนั้น ได้แก่
- โรคอ้วน
- โรคซึมเศร้า
- โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
- โรคหลอดเลือดสมองตีบ
- โรคมะเร็ง
- โรคอารมณ์แปรปรวน
- โรคอัลไซเมอร์
- โรคนอนไม่หลับเรื้อรัง
- โรคสมรรถภาพทางเพศเสื่อมลง
- เสี่ยงต่อสภาวะการหยุดหายใจแบบเฉียบพลัน
- มีภาวะมีบุตรยาก เป็นต้น
นอกจากนี้การนอนไม่พอยังอาจส่งผลกระทบต่อพฤติกรรม ความสัมพันธ์ต่อคนรอบข้าง และอาจทำให้ผู้ที่นอนพักผ่อนไม่เพียงพอประสบอุบัติเหตุทำให้ได้รับอันตรายจากอาการวูบหลับ หรือเผลอหลับในขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อีกด้วย
นอนหลับอย่างไร ให้สุขภาพดี มีชีวิตที่ยืนยาวเพราะการนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอเป็นต้นเหตุของโรคร้ายมากมาย อีกทั้งยังส่งผลเสียต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย และส่งผลต่อสภาวะทางอารมณ์ของเราได้ แล้วจะทำอย่างไรให้เราสามารถมีอายุที่ยืนยาว ตามเราไปดูกัน
นอนหลับให้เหมาะสมตามช่วงอายุวัยแรกคลอด - 3 เดือน : ควรนอนหลับให้เพียงพอเป็นระยะเวลา 14-17 ชั่วโมง
ผู้ที่มีอายุ 4 เดือน - 1 ปี : ควรนอนหลับให้เพียงพอเป็นระยะเวลา 12-15 ชั่วโมง
ผู้ที่มีอายุ 1 - 2 ปี : ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอเป็นระยะเวลา 11-14 ชั่วโมง
ผู้ที่มีอายุ 3 - 5 ปี : ควรนอนหลับให้เพียงพอเป็นระยะเวลา 10-13 ชั่วโมง
ผู้ที่มีอายุ 6 - 13 ปี : ควรนอนหลับให้เพียงพอเป็นระยะเวลา 9-11 ชั่วโมง
ผู้ที่มีอายุ 14 - 17 ปี : ควรนอนหลับให้เพียงพอเป็นระยะเวลา 8-10 ชั่วโมง
ผู้ที่มีอายุ 15 - 59 ปี : ควรนอนหลับให้เพียงพอเป็นระยะเวลา 7-9 ชั่วโมง
ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป : ควรนอนหลับให้เพียงพอเป็นระยะเวลา 78 ชั่วโมง
นอนพักผ่อนให้ครบทุกระยะของการนอนหลับในการนอนหลับให้มีคุณภาพ เราจะต้องนอนหลับให้ครบทั้งครบทุกระยะของการนอนหลับ ซึ่งระยะของการนอนหลับจะแบ่งออกได้ ดังนี้
ระยะที่ 1 : หลับตื้น (ช่วงแรกของการนอนหลับ)
ระยะที่ 2 : หลับลึก (ช่วงที่นอนหลับสนิทมากที่สุด)
ระยะที่ 3 : หลับฝัน (ช่วงที่สมองจะทำการจัดการกับระบบความจำต่างๆ)
ดังนั้นเราไม่ควรจะนอนน้อยเกินไป เพราะร่างกายอาจจะยังไม่เข้าสู่ช่วงของการหลับลึกและหลับฝัน และอาจทำให้การนอนหลับในครั้งนั้นเป็นการนอนหลับที่ไม่มีคุณภาพนั่นเอง
ระวัง! สภาพแวดล้อมแบบในห้องนอน อาจส่งผลต่อคุณภาพในการนอนหลับเพื่อการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ เราจะต้องจัดการกับสภาพแวดล้อมภายในห้องนอนให้เหมาะสม ซึ่งสิ่งที่จะมารบกวนการนอนของคุณได้นั้น ได้แก่
- แสงสว่างจากทั้งภายในและภายนอกห้องนอน
- เสียงจากเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งจากทั้งภายในและภายนอกห้องนอน
- เสียงและการรบกวนจากสัตว์เลี้ยงภายในห้องนอน
- หมอนและฟูกที่นอนนิ่ม แข็ง เตี้ย หรือสูงจนเกินไป
- ขนาดของเตียงนอนที่แคบหรือกว้างเกินไป
- อุณหภูมิภายในห้องนอนที่ไม่คงที่ รวมถึงเป็นอุณหภูมิที่สูงหรือต่ำเกินไป
- ฝุ่นภายในห้องนอนที่มากเกินไป
- กลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ภายในห้องนอน รวมถึงกลิ่นที่ปะปนเข้ามาจากภายนอกห้องนอน
- เสียงหรือการสั่นของเครื่องมือสื่อสาร หรือการแจ้งเตือนของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
- อากาศภายในห้องนอนที่ไม่หมุนเวียน หรือไม่มีการถ่ายเท
- ห้องมีความชื้นมากเกินไป หรือห้องมีอากาศที่แห้งเกินไป
หากใครกำลังมีห้องนอนที่มีสภาพแวดล้อมแบบนี้ เราขอแนะนำค่อยๆ ปรับเปลี่ยน และหาแนวทางการแก้ไขที่เหมาะสมกับตัวเองให้มากที่สุด เพื่อให้ห้องนอนเป็นห้องที่ส่งเสริมการนอนหลับที่ดี ทำให้เราสามารถ
นอนพักผ่อนได้อย่างเหมาะสมและนอนหลับพักผ่อนได้อย่างเพียงพอ ไม่ง่วง ไม่เพลีย ไม่มีภาวะอารมณ์ที่แปรปรวน และเพื่อเสริมอายุให้ยืนยาวมากยิ่งขึ้นได้นั่นเอง